บทที่ ๘

Singular and Plural

  หลักการเปลี่ยน

            1.  คำนามโดยทั่วไปเมื่อเปลี่ยนจากเอกพจน์เป็นพหูพจน์มักจะเติม " s " ลงที่ท้ายคำนั้น เช่น
            cup -----> cups ( ถ้วย )   book -----> books ( หนังสือ )   elephant -----> elephants ( ช้าง )
            lamp -----> lamps ( โคมไฟ )   house -----> houses ( บ้าน )   car -----> cars ( รถยนต์ )

            2.  คำเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย s, x, z, ch หรือ sh เมื่อเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์จะต้องเติม es เช่น
            kiss -----> kisses ( จูบ )   box -----> boxes ( กล่อง )   watch -----> watches  ( นาฬิกา )
            brush -----> brushes ( แปรง )  topaz -----> topazes ( บุษราคัม )
        ยกเว้น : monarch -----> monarchs ( กษัตริย์ ) เพราะว่าพยัญชนะ ch ออกเสียงเป็น /ค/ ไม่ใช่ /ช/ ครับ

           3.  คำเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย o และหน้า o เป็นพยัญชนะ ให้เติม es เช่น
            motto -----> mottoes ( คติพจน์ )   potato -----> potatoes ( มัน )   mango ----> mangoes ( มะม่วง )
            ยกเว้น : คำเหล่านี้เติม s เมื่อทำเป็นพหูพจน์  bamboo -----> bamboos ( ไม้ไผ่ )   radio -----> radios ( วิทยุ )
                        kilo -----> kilos ( กิโลชั่งขายของ )    piano -----> pianos ( เปียโน )   kangaroo -----> kangaroos ( จิงโจ้ )
                        dynamo -----> dynamos ( ไดนาโม )   photo -----> photos ( รูปถ่าย )   memo -----> memos ( บันทึก )
                        zero -----> zeros ( เลขศูนย์ )   zoo ------> zoos ( สวนสัตว์ )   banjo -----> banjos ( เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง )
                        embryo -----> embryos ( เด็กในท้อง )   casino ------> casinos ( บ่อนการพนัน )   solo ------> solos ( โซโล )
                        Eskimo -----> Eskimos ( ชนเผ่าเอสกิโม )   studio -----> studio ( สตูดิโอ )   ฯลฯ
        หมายเหตุ : คำเหล่านี้จะเลือกเติม s หรือ es ก็ได้ เมื่อต้องการทำเป็นพหูพจน์ ได้แก่ buffalo ( ควาย ),  cargo ( สินค้า ),
                              calico ( ผ้าเนื้อหยาบ ),  domino ( โดมีโน ),  grotto ( ถ้ำ ),  halo ( แสงเป็นวงกลม ), lasso ( เชือกบ่วงบาศ ),
                              mosquito ( ยุง ), portico ( หลังคาทางเดิน ), proviso ( ข้อแม้ ), volcano ( ภูเขาไฟ )
 

            4.  คำนามที่ลงท้ายด้วย y แล้วหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น
            lady -----> ladies ( สุภาพสตรี )   country -----> contries ( ประเทศ )   city -----> cities ( เมือง )
 
 


            5.  คำนามที่ลงท้ายด้วย y แล้วหน้า y เป็นสระ ให้เติม s ได้เลย เช่น
            donkey ------> donkeys ( ลา )   boy -----> boys ( เด็กชาย )   day -----> days ( วัน )
            monkey -----> monkeys ( ลิง )  key -----> keys ( ลูกกุญแจ )   ray -----> rays  ( รังสี )
 

            6.  คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เปลี่ยน f หรือ fe เป็น v แล้วเติม es เช่น
            wife -----> wives ( ภรรยา )   life -----> lives ( ชีวิต )   knife ------> knives ( มีด )
            wolf -----> wolves ( หมาป่า )   calf -----> calves ( ลูกวัว )   shelf -----> shelves ( หิ้ง )
        หมายเหตุ ๑). คำต่อไปนี้สามารถเติม s หรือจะใช้ -ves ก็ได้ คือ  scarf ( ผ้าพันคอ ), wharf ( ท่าเรือ )
                            ๒). คำต่อไปนี้ให้เติมด้วย s ไปเลย ได้แก่ reef ( หินโสโครก ), grief ( ความเศร้าโศก ), gulf ( อ่าว ),
                                  dwarf ( คนแคระ ), turf ( พื้นหญ้า ), chief ( หัวหน้า ), roof ( หลังคา ), hoof ( กีบเท้าสัตว์ ),
                                  cliff ( หน้าผา ), proof ( หลักฐาน ), strife ( การวิวาท ), safe ( ตู้นิรภัย ), fife ( ขลุ่ย )
                                  handkerchief ( ผ้าเช็ดหน้า )
 
 

            7.  นามบางคำจะเปลี่ยนรูปไปจากเดิมเมื่อเป็นพหูพจน์ ซึ่งจะต้องใช้การจดจำ เช่น
            man -----> men ( ผู้ชาย )   woman -----> women ( ผู้หญิง )   foot -----> feet ( ฟุต )
            mouse ------> mice ( หนู )   louse -----> lice ( เหา )   child -----> children ( เด็ก )
            goose -----> geese ( ห่าน )   tooth -----> teeth ( ฟัน )   ox -----> oxen ( วัวตัวผู้ )
 

            8.  คำนามบางคำมีรูปเอกพจน์เหมือนกับรูปพหูพจน์ เช่น
            sheep ( แกะ ), deer ( กวาง ), salmon ( ปลาแซลมอน ), grouse ( ไก่ป่า ), cod ( ปลาค็อด ),
            fish ( ปลา ), bison ( กระทิง ), swine ( หมูป่า ), reindeer ( กวางเรนเดียร์ ), herring ( ปลาเฮอร์ริง )
 

            9.  คำที่มาจากภาษากรีกหรือละติน เมื่อเป็นพหูพจน์จะเป็นไปตามกฎของภาษากรีกหรือละติน เช่น
            agendum -----> agenda ( หัวข้อการประชุม )   erratum -----> errata ( ผิด )   datum -----> data ( ข้อมูล )
            memorandum -----> memoranda ( บันทึก )   radius -----> radii ( รัศมี )    crisis -----> crises ( วิกฤตการณ์ )
            phenomenon -----> phenomena ( ปรากฏการณ์ )   oasis -----> oases ( โอเอซิส )  axis -----> axes ( แกน )
            thesis -----> theses ( วิทยานิพนธ์ )   appendix -----> appendices ( ดรรชนี ) basis -----> bases ( พื้นฐาน )
 

                                                                                                                 
 
 
 
 

            10.  คำนามผสมที่มีบุพบทมาคั่น ให้เติม s ที่ท้ายคำแรก หากต้องการทำเป็นพหูพจน์ เช่น
            sister-in-law -----> sisters-in-law ( พี่สะใภ้, น้องสะใภ้ )    passer-by ------> passers-by ( คนที่เดินผ่านไปมา )
 

                ผมขอสรุปคร่าวๆ แต่เพียงเท่านี้นะครับ เรื่องเอกพจน์พหูพจน์นี้ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนกันพอสมควรทีเดียวนะครับ
        คำบางคำอาจจะมีรูปเสมือนเป็นพหูพจน์ แต่จริงๆ แล้วเป็นเอกพจน์ก็มีนะครับ อย่างเช่น news เป็นต้นครับ หรือคำบางคำ
        ก็ต้องทำให้เป็นรูปพหูพจน์อยู่เสมอ อย่างเช่น pants, glasses, scissors เป็นต้น คำบางคำแม้รูปเอกพจน์กับพหูพจน์
        อาจจะให้ความหมายที่แตกต่างกันไปเลยครับ ........
 
 





                                                                                                                                                                                                9       10