คำและหน้าที่ของคำในภาษาไทย

               คำ มีทั้งหมด 7 ชนิด  คือ  คำนาม คำสรรพนามคำกริยา   คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธานคำอุทาน
    ๑. คำนาม
  คือ  คำที่แสดงความหมายถึง  บุคคล  สัตว์  สิ่งของ  อาการและลักษณะ  ทั้งสิ่งมี ชีวิตและไม่มีชีวิต
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  ซึ่งคำนามยังแยกออกเป็นย่อยๆได้อีก  ดังนี้
            ๑.๑ สามานยนาม  คือ  นามที่ใช้เรียกชื่อทั่วไปของบุคคล  สัตว์  สิ่งของ  สถานที่  เช่น
                    - เสื้อผ้าอยู่ในตู้                                            - ใบไม้ร่วงลงสู่พื้นดิน
            ๑.๒ วิสามานยนาม  คือ  นามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะของบุคคลหรืสถานที่ เช่น
                    - ฉันชื่อศิริกมล                                            - ฉันอยู่รร.สาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" ม.บูรพา
            ๑.๓ สมุหนาม  คือ  นามที่เป็นชื่อกลุ่มหรือคณะ เช่น
                    -กองทหารตั้งอยู่เพื่อรักษาความปลอดภัย        - โขลงช้างอยู่ที่ชายป่า
            ๑.๔ อาการนาม  คือ  นามที่บอกความหมายถึงสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง  ไม่มีขนาด
                   -โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด                   - วันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นวันแห่งความรัก
            ๑.๕ ลักษณนาม  คือ  นามที่บอกลักษณะของนามอื่นๆหรือเป็นคำซ้ำที่กล่าวก่อน
                   -รถคันหนึ่งจอดอยู่หน้าบ้าน                         - ฉันไม่มีปากกาสักด้าม
                หน้าที่ของคำนาม
            ๑. เป็นประธานของกริยาในประโยค
                   - ความรักมักทำให้คนตาบอด
                  - พระอภัยมณีีเป็นบทประพันธ์ของสุนทรภู่
            ๒. เป็นกรรมของกริยา
                    ๒.๑ กรรมตรง
                    ๒.๒ กรรมรอง
                      - เด็กกินขนมหมดแล้ว
                      - ฉันซื้อเสื้อให้น้อง
            ๓. ขยายคำนามอื่น
                        - น้องเธอไปโรงเรียน
                        - เขาทำงานที่โรงพยาบาล
            ๔. ขยายคำกริยาบอกสถานที่หรือทิศทาง
            ๕. ขยายคำกริยาหรือขยายคำนามอื่น
            ๖. ใช้เป็นคำเรียกขาน
            ๗. ใช้เป็นส่วนเติมเต็มของกริยา
                    - หน้าตาเขาเหมือนแม่มาก
                    -เขาสูงเท่าคนนั้น
            ๘. ทำหน้าที่บอกลักษณะ  ชนิด  พวก  สัณฐาน

 คือ  คำที่แสดงความหมายถึง  บุคคล  สัตว์  สิ่งของ  อาการและลักษณะ  ทั้งสิ่งมี
     ๒. คำสรรพนาม
                            คือ  คำที่ทำหน้าที่แทนนาม   ซึ่งแบ่งย่อยได้ 6 ชนิด
               ๒.๑ บุรุษสรรพนาม  คือ  สรพนามที่ใช้แทนการพูด
               ๒.๒ นิยมสรรพนาม  คือ  สรรพนามใช้ชี้ระยะ
               ๒.๓ ปฤจฉาสรรพนาม  คือ  สรรพนามใช้ถาม
               ๒.๔ อนิยมสรรพนาม  คือ  สรรพนามบอกความไม่เจาะจง
               ๒.๕ วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามใช้ชี้ซ้ำหรือแบ่งหรือรวมคำนามในประโยค
               ๒.๖ ประพันธสรรพนาม  คือ  สรรพนามเชื่อม    มีคุณสมบัติใช้แทนคำนาม   นำ  ประโยคย่อยที่บอกลักษณะ
หรือขยาย  เชื่อมประโยคย่อยกับประโยคหลักให้เป็นประโยค  ความซ้อน   ใช้เชื่อมด้วยคำว่า  ที่  ซึ่ง  อัน  ผู้
       หน้าที่ของคำสรรพนาม
                ๑. เป็นประธาน                                         ๒. เป็นกรรม
                ๓. เป็นส่วนเติมเต็ม                                  ๔. เป็นคำขยาย
                ๕. เป็นคำเรียกขาน                                   ๖. เป็นคำเชื่อมประโยค

     ๓. คำกริยา
                   คือ  คำที่แสดงความหมายว่า  กระทำ มีอาการ  หรืออยู่ในสภาพ  กริยาแบ่งย่อยออกเป็น 5 ชนิด  ดังนี้
                ๓.๑ สกรรมกริยา  คือ  กริยามีกรรม
                        -๑. เป็นกริยาต้องมีกรรมมารับการกระทำส่วนใหญ่
                        -๒. กริยามีกรรมตรงกรรมรอง
                ๓.๒ อกรรมกริยา  คือ  กริยาไม่ต้องมีกรรม  หรือกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ
                ๓.๓ วิกตรรถกริยา  คือ  กริยาอาศัยส่วนเติมเต็ม หรือกริยาที่มีความหมายไม่เต็ม  ต้องอาศัยคำที่ตามมาข้างหลังจึงอิ่มตัว
                ๓.๔ กริยานุเคราะห์  คือ  คำกริยาช่วย  หรือกริยาที่ช่วยกริยาแท้ให้มีความหมาย  ชัดเจนยิ่งขึ้น
           หน้าที่ของคำกริยา
                ๑. เป็นตัวสำคัญในภาคแสดงของประโยค
                ๒. ขยายนาม
                ๓. ทำหน้าที่เหมือนคำนาม

      ๔. คำวิเศษณ์
        คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่นให้มีเนื้อความละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น วิเศษณ์จำแนกออกเป็นชนิดย่อยได้ดังนี้
           1. วิเศษณ์บอกลักษณะ หรือ ลักษณวิเศษณ์  คือ  วิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกชนิด  ขนาด  สัณฐาน  ส ี เสียง กลิ่น
รส  สัมผัส  อาการ   เช่น
                          - วัวแก่ชอบกินหญ้าอ่อน                                    (บอกชนิด)
                          - คุณแม่จัดอาหารอยู่บนโต๊ะกลม                       (บอกสัณฐาน)
            2. วิเศษณ์บอกเวลา หรือ กาลวิเศษณ์   คือ วิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกเวลา   เช่น
                          - เขามาถึงบ้านเดี๋ยวนี้
                          - การนอนตื่นเช้าเป็นกำไรของชีวิต
            3. วิเศษณ์บอกสถานที่  หรือ สถานวิเศษณ์   วิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกสถานที่  เช่น
                          - พ่อไปเหนือแต่เช้า
                          - บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยามีเรือนหลังหนึ่ง
            4. วิเศษณ์บอกปริมาณ  หรือ  จำนวน  หรือ ประมาณวิเศษณ์ คือ วิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่น เพื่อบอกปริมาณ
หรือจำนวนจำกัด จำนวนไม่จำกัด  จำนวนแบ่งแยก  และจำนวนนับ  เช่น
                          - ทุกคนต้องการความยุติธรรม                                       (บอกจำนวนจำกัด)
                          - นักเรียนบางคนมาโรงเรียนสาย                                    (บอกจำนวนแบ่งแยก)
            5. วิเศษณ์แสดงคำถาม หรือ  ปฤจฉาวิเศษณ์   คือ  วิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่นเป็นความถาม  เช่น
                          - คนไหนซื้อขนมหน้าโรงเรียน
                          - คนอะไรไร้ความปรานี
          ข้อสังเกต   วิเศษณ์แสดงคำถามจะต่างกับสรรพนามแสดงความถามตรงที่ถ้าเป็นสรรพนาม ต้องตอบ ด้วยคำนาม
            6. วิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ  หรือ  นิยมวิเศษณ์   คือ วิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกความแน่นอน  ชัดเจน  เช่น
                          - เด็กนั่นเป็นหลานฉัน
                          - คนโน้นสวมเสื้อสีเหลือง
          ข้อสังเกต  นิยมวิเศษณ์ต่างกับนิยมสรรพนามตรงที่นิยมวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยาย   ส่วนนิยมสรรพนาม
ทำหน้าที่แทนนาม
            7. วิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ  หรือ  อนิยมวิเศษณ์  คือวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่นโดยไม่บอกกำหนด  แน่นอนลงไป
เช่น
                           - วิชาไหนก็สู้วิชาภาษาไทยไม่ได้
                           - ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์
            8. วิเศษณ์แสดงคำขานรับ  หรือ  ประติชญาวิเศษณ์  คือ  วิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำพูด เช่น
                           - คุณครับไปโรงเรียนได้แล้วครับ
                           - เธอจ๋ามาหาพี่หน่อย
             9. วิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ  หรือ  ประติเสธวิเศษณ์  คือ  วิเศษณ์ที่บอกความห้ามหรือไม่รับรอง เช่น
                           - เวลาและสายน้ำไม่คอยใคร
                           - ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
    หน้าที่ของคำวิเศษณ์
         1. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำนาม  เช่น
                            - ใครๆก็ชอบคนขยัน                             (ขยัน  ขยาย  คน)
                            - บ้านเล็กๆดูกะทัดรัดดีนะ                       (เล็กๆ  ขยาย บ้าน)
            2. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายสรรพนาม  เช่น
                           - ใครหนอรักเราเท่าชีวี                             (หนอ  ขยาย  ใคร)
                           - อะไรเอ่ยยิ่งตัดยิ่งยาว                               (เอ่ย  ขยาย  อะไร)
            3. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายกริยา        เช่น
                           - เธอทำงานช้ากว่าคนอื่นๆ                        (ช้า  ขยาย  ทำ)
                           - แม่ให้เงินฉันน้อย                                     (น้อย  ขยาย  ให้)
             4. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายวิเศษณ์      เช่น
                           - เขาเป็นคนดีมาก                                         (มาก  ขยาย  ดี , ดี  ขยาย  คน )
                           - เธอพูดด้วยคำไพเราะอ่อนหวาน               (อ่อนหวาน  ขยาย  ไพเราะ , ไพเราะ  ขยาย  คำ)
              5.คำวิเศษณ์ทำหน้าที่เป็นคำกริยาบอกสภาพ    เช่น
                          - ขนมหวานร้านนี้หวานจัด
                          - น้ำเย็นแก้วนี้เย็นเจี้ยบ
     ๕. คำบุพบท
   มีข้อสังเกตดังนี้
                ๕.๑ คำบุพบทในประโยคแสดงความหมายต่างๆ
                ๕.๒ คำบุพบทบางคำมีความหมายไม่แน่นอน  จะขึ้นอยู่กับคำแวดล้อม
                ๕.๓ ในประโยคบางทีละบุพบท  ความก็ไม่เปลี่ยนแปลง
   หน้าที่ของคำบุพบท
                ใช้นำหน้าคำนาม   คำสรรพนาม    คำกริยาและคำวิเศษณ์   เพื่อแสดงความหมาย  ข้างต้น

    ๖. คำสันธาน
                      คือ  คำที่ใช้เชื่อมคำ   ประโยค   ข้อความ   เพื่อทำให้บอกเรื่องราวได้มากขึ้น  มีข้อน่าสังเกตดังนี้
                ๖.๑ คำสันธานอาจอยู่หน้าประโยค  กลางประโยค  หรือท้ายประโยคก็ได้
                ๖.๒ คำสันธานอาจใช้คำเดียวหรือใช้คำเข้าคู่กันก็ได้
                ๖.๓ ประโยคที่มีคำสันธานสามารถแยกได้ ๒ ประโยคขึ้นไป
   หน้าที่คำสันธาน
                ๑. เชื่อมคำกับคำที่เป็นชนิดเดียวกัน
                ๒. คำบางคำใช้เป็นสันธานก็ได้  และเป็นบุพบทก็ได้
                ๓. กลุ่มคำทำหน้าที่เป็นสันธานได้
                ๔. คำสรรพนาม ผู้ ซึ่ง อัน ผู้ ก็จัดเป็นคำทำหน้าที่สันธานด้วย
                ๕. คำสันธานอาจทำหน้าที่เปลี่ยนความหมายของข้อความให้แตกต่างไปได้

๘ คำอุทาน
  คือคคำที่เปล่งเสียงเพื่อแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึก เช่น อุ๊ย เอ๊ะ วุ้ย ว้าย  แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
              ๑. อุทานแสดงอาการ
               ๒. อุทานเสริมบท   เช่น หนังสือหนังหา  กระดูกกระเดี้ยว